มท.1 วอนคนไทย อย่าดื่มสุราขับรถ

มท.1 วอนคนไทย อย่าดื่มสุราขับรถ ชี้เป็นอุบัติเหตุซ้ำซาก พร้อมจนท.เข้มข้น พื้นที่สีแดง-ส้ม ย้ำบูรณาการกำลังพอเพียง ดูแลประชาชน เตรียมชงกม.เพิ่มโทษ

พล.อ.อนุพงษ์เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (มท.1) ให้สัมภาษณ์ การดูแลรักษาความปลอดภัยทางอุบัติเหตุในห้วงปีใหม่ว่า ในขณะนี้มาตรการป้องกันอุบัติเหตุปีใหม่ ได้ผ่านมติคณะรัฐมนตรี (ครม.)ไปแล้ว ซึ่งส่วนเกี่ยวข้องก็ได้รับทราบแล้ว ซึ่ง มาตรการที่ดำเนินการอยู่ในขณะนี้ คือการรณรงค์ให้ทุกคนได้ปฏิบัติตามกฎหมาย ไม่ขับรถเร็ว และไม่ดื่มสุรา ถือเป็นเรื่องหลักที่จะต้องสร้างการรับรู้ ในช่วงนี้ ซึ่งคาดว่า จะสามารถลดการเกิดอุบัติเหตุได้

พล.อ.อนุพงษ์ กล่าวว่า สำหรับในช่วงของปีใหม่นั้นจะเน้นในเรื่องของการบังคับใช้กฎหมายทั้งในของตำรวจ ทหาร กรมการขนส่ง (ขส.มก.)และฝ่ายปกครอง โดยเฉพาะในถนนสายหลักและสายรอง สิ่งที่เพิ่มเติม คือมาตรการกำหนดพื้นที่ ที่มีสถิติอุบัติเหตุเกิดขึ้นเป็นจำนวนมากหรือพื้นที่สีแดงหรือสีส้ม โดยให้เจ้าหน้าที่ที่อยู่ในพื้นที่ที่รับผิดชอบได้มีการวางแผนให้รัดกุม อย่างไรก็ตามอยากให้สื่อมวลชนช่วยกันรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ ให้ประชาชนได้ทราบ เนื่องจาก อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นซ้ำซากคือขับรถเร็วและดื่มสุรา

เมื่อถามว่าพื้นที่สีส้มและสีแดงจำนวน 144 อำเภอ ได้กำชับในส่วนท้องถิ่นในการเข้มงวดอย่างไรบ้าง พล.อ.อนุพงษ์ กล่าวว่า การให้สีแดงหรือสีส้มในพื้นที่ที่เกิดอุบัติเหตุเป็นจำนวนมากถือเป็นเรื่องดี เพราะจะได้เพิ่มมาตรการต่างๆให้มีความเข้มข้นมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้จะดูห้วงเวลาว่าจะต้องมีความเข้มข้นในห้วงเวลาใด เช่นในห้วงแรกของการเดินทางก็คือถนนสายหลัก ที่จะต้องดูแล ดังนั้นเจ้าหน้าที่จะต้องมีการบูรณาการและใช้กำลังให้เหมาะสม รวมถึงมาตรการการอำนวยความสะดวกเส้นทางการจราจรให้กับประชาชนมีที่พักคอย

"ขอให้คนไทยทุกคนได้ช่วยกันถ้าไม่ดื่มสุราและขับรถเร็ว ก็ขอให้เป็นอุบัติเหตุที่เกิดจากเหตุสุดวิสัย ไม่ใช่ไปดื่มสุราแล้วมาขับรถเพราะนั่นเท่ากับว่าเป็นอุบัติเหตุที่เกิดจากการจงใจ" พล.อ.อนุพงษ์ กล่าว

พล.อ.อนุพงษ์ยังๆถึง การดูแลความปลอดภัยในห้วงปีใหม่ นอกจากนี้ศูนย์ความปลอดภัยทางถนน มีการประชุมบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในหลายครั้ง และลงความเห็นว่าโทษหรือมาตรการต่างๆ ที่ใช้ควบคุมการใช้รถใช้ถนนยังไม่เข้มข้น ตอนนี้มีการเสนอกฎหมายเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว อยู่ในระหว่างเตรียมส่งสนช.พิจารณา ซึ่งเราก็เร่งเต็มที่ เพื่อจะได้พิจารณาเรื่องโทษและมาตรการการขับขี่รถ แต่คาดว่าจะไม่สามารถใช้ได้ทันในปีใหม่นี้ ส่วนกรณีที่นักวิชาการศูนย์วิจัยปัญหาสุราเสนอให้ธุรกิจสุราและร้านค้าได้ร่วมกันรับผิดชอบต่ออุบัติเหตุที่เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ในห้วง 7 วันอันตรายนั้น ถือเป็นแนวคิดแต่ไม่ทราบว่าจะบังคับใช้ได้อย่างไร เนื่องจากพิสูจน์ยากไม่รู้ว่า

ที่มา เว็บไซต์สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สสส.
ภาพ แฟ้มภาพ


แก้ไขล่าสุด : 25 ธ.ค. 2561, เวลา 18:49



ข่าวอื่นๆ

มูลนิธิสร้างสุขมุสลิมไทย

ร่วมสร้างสังคมปลอดบุหรี่