"หักนิ้ว...."

เวลาที่เราอยากจะผ่อนคลาย หลายๆ คนมักชอบหักนิ้วเล่น ราวกับว่าการหักนิ้วจนเกิดเสียงดังนั้นช่วยให้ผ่อนคลายได้ แต่ก็อดสงสัยไม่ได้ว่าเสียงดังกร๊อบที่ได้ยินนั้นมาจากอะไรกันแน่ ถ้าเล่นบ่อย ๆ อันตรายหรือเปล่า

เวลาที่เราอยากจะผ่อนคลาย หลายๆ คนมักชอบหักนิ้วเล่น ราวกับว่าการหักนิ้วจนเกิดเสียงดังนั้นช่วยให้คุณผ่อนคลายได้ แต่ก็อดสงสัยไม่ได้ว่าเสียงดังกร๊อบที่ได้ยินตอนหักนิ้วมาจากอะไรกันแน่ ถ้าเล่นบ่อย ๆ อันตรายหรือเปล่า

สำหรับเสียงกร๊อบที่เราได้ยินกันเวลาที่หักนิ้วนั้นเป็นเสียงที่มาจากน้ำในข้อต่อ ซึ่งมีลักษณะเป็นน้ำเหนียว ๆ เหมือนกับไข่แดง โดยของเหลวชนิดนี้จะประกอบด้วยแก๊สชนิดต่างๆ เช่น ออกซิเจน ไนโตรเจน และคาร์บอนไดออกไซด์ เสียงเหล่านั้นจะดังก็ต่อเมื่อเรายืดข้อนิ้วจนสุดแล้วงอลงอย่างรวดเร็ว ทำให้แก๊สเหล่านั้นไหลไปอยู่รวมกันที่จุดเดียว ทำให้เกิดเสียงดัง "กร๊อบ" อย่างที่เราได้ยินกัน แต่ก็ใช่ว่าทุกครั้งที่หักนิ้วแล้วจะได้ยินเสียง เพราะกว่าแก๊สจะกระจายตัวเข้าสู่ภาวะปกติก็ต้องใช้เวลาประมาณ 20 นาที ทำให้เวลาที่เราหักนิ้วติดต่อกันหลาย ๆ ครั้ง เสียงก็จะหายไปนั่นเอง ทั้งนี้อาการเหล่านี้ก็ยังสามารถเกิดได้กับทุกข้อต่อในร่างกาย ตัวอย่างเช่นเสียงที่เราได้ยินเวลาที่เราลุกขึ้นยืนไวเกินไปอีกด้วย หากถามถึงอันตรายที่เกิดจากการหักนิ้วที่เสี่ยงต่อการเป็นอะไรร้ายแรง เช่น โรคภัยไข้เจ็บต่างๆ คงตอบได้ว่าไม่มี

เมื่อผลดีของการหักนิ้วยังมองไม่เห็น แต่“ผลเสีย” ที่มองเห็นนั่นคือ กระดูกข้อต่อนิ้วอาจจะโปนใหญ่ได้ โดยเฉพาะกระดูกของเด็กเล็กที่ยังมีการพัฒนาเจริญเติบโตยังไม่เต็มที่ การหักกระดูกนิ้ว หรือรบกวนในส่วนของกระดูกนิ้วมากเกินไป อาจทำให้กระดูกเจริญเติบโตผิดปกติ นอกจากจะโปนใหญ่ขึ้นแล้ว อาจทำให้กระดูกผิดรูป บิดเบี้ยว ไม่ได้รูปทรงตามปกติได้

นายแพทย์ Donald L. Unger ได้ทำการศึกษาอย่างต่อเนื่องมายาวนานกว่า 60 ปี กับตนเองเพื่อหาข้อสรุปว่าการเล่นหักนิ้วเป็นประจำสามารถทำให้เกิดไขข้อเสื่อมได้หรือไม่ ซึ่งนายแพทย์ Unger ได้ทำการทดลองเล่น ๆ กับมือของตัวเองข้างหนึ่ง พบว่าการหักนิ้วเล่นบ่อย ๆ เป็นเวลานานไม่ได้ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงที่ทำให้มือทั้ง 2 ข้างแตกต่างกันแต่อย่างใด แต่ถึงอย่างไรก็ตามในการศึกษาปี 1990 ในอาสาสมัครกว่า 300 คนพบว่าการเล่นหักนิ้วเป็นประจำอาจทำให้เกิดอาการบวมของข้อนิ้ว และทำให้ความแข็งแรงของมือลดลงได้ ซึ่งก็ยังไม่มีการศึกษาอื่น ๆ ออกมาสนับสนุนผลวิจัยนี้

เอาเป็นว่าต่อไปนี้ถ้าใครรู้สึกเมื่อยนิ้ว ลองดัดนิ้วไปด้านหลังมือ สะบัดนิ้วเบาๆ 30 วินาที ก็ช่วยผ่อนคลายกระดูก และกล้ามเนื้อของนิ้วได้เช่นเดียวกัน

สุขสาระ ธันวาคม 2560

 

Tags : all ร่างกาย

แก้ไขล่าสุด : 29 ธ.ค. 2562, เวลา 23:17


บทความอื่นๆ

มูลนิธิสร้างสุขมุสลิมไทย

ร่วมสร้างสังคมปลอดบุหรี่