รายงาน SIA (ผลกระทบทางสังคม)

รายงาน ผลกระทบทางสังคมของโคงการมัสยิดปลอดบุหรี่ที่ดำเนินการโดยมูลนิธิสร้างสุขมุสลิมไทย (สสม.)

การประเมินผลกระทบทางสังคม : โครงการมัสยิดปลอดบุหรี่

โครงการมัสยิดปลอดบุหรี่เป็นโครงการที่มุ่งเน้นการสร้างการรับรู้ให้แก่มุสลิมไทย ให้เกิดการตระหนักว่ามัสยิดเป็นสถานที่ปลอดบุหรี่ โดยมีพันธกิจในการสร้างกิจกรรม และการสร้างสัญลักษณ์ เพื่อแสดงให้เห็นโทษของการสูบบุหรี่มากขึ้น อันจะนำไปสู่แรงสนับสนุนในการลดอัตราการสูบบุหรี่ของประชากรไทยได้ กิจกรรมมัสยิดปลอดบุหรี่ เป็นโครงการที่ทางแผนงานฯ ดำเนินงานมาต่อเนื่องเพื่อแก้ปัญหาการบริโภคบุหรี่และผลิตภัณฑ์ยาสูบ ด้วยเหตุนี้จึงเลือกประเมินผลกระทบทางสังคมของกิจกรรมมัสยิดปลอดบุหรี่ เพื่อเสริมสร้างให้การดำเนินงานบรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์และกรอบระยะเวลาที่กาหนดได้ต่อไป  ดังนั้นเมื่อโครงการดำเนินมาเป็นระยะหนึ่ง ผู้ประเมินภายในจึงต้องการวัดผลกระทบเชิงสังคมของโครงการมัสยิดปลอดบุหรี่ ความคุ้มค่าในการดำเนินกิจกรรม รวมถึงการใช้งบประมาณ เพื่อให้ทราบผลลัพธ์ของโครงการที่เกิดขึ้นอย่างชัดเจน และใช้เป็นเครื่องมือในการวางแผนดำเนินการของแผนงานฯ ต่อไปในอนาคต

การประเมินผลกระทบทางสังคมในงานศึกษานี้ จะเริ่มจากขั้นตอนการระบุกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย (stakeholder) ที่ครอบคลุมทุกภาคส่วน และกลุ่มที่มีส่วนได้เสียทางตรง (direct stakeholder) เพื่อกำหนดเป็นขอบเขตในการวิเคราะห์ หลังจากนั้นจะทำการวิเคราะห์ผลได้และผลลัพธ์ของการดำเนินกิจกรรม ตามแนวคิดการเชื่อมโยงผลลัพธ์ (mapping outcome) ด้วยการวิเคราะห์ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลง (Theory of Change) และห่วงโซ่ผลลัพธ์ (impact value chain) เพื่อนำไปสร้างตัวชี้วัดที่เหมาะสมของกิจกรรม อันเป็นตัวแทนของผลได้และผลลัพธ์ของการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่เกิดจากการดำเนินกิจกรรมมัสยิดปลอดบุหรี่อย่างชัดเจน

การประเมินผลกระทบทางสังคมของกิจกรรมมัสยิดปลอดบุหรี่ จะใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามมัสยิดที่เข้าร่วมโครงการมัสยิดปลอดบุหรี่จานวน 41 มัสยิด และมัสยิดที่ไม่เข้าร่วมโครงการมัสยิดปลอดบุหรี่จานวน 36 มัสยิด จำแนกตามจังหวัดในภาคกลาง ภาคใต้บน ภาคใต้กลาง และภาคใต้ล่าง

การวิเคราะห์ผลกระทบทางสังคมจากโครงการมัสยิดปลอดบุหรี่ตามทฤษฎีการเปลี่ยนแปลง และห่วงโซ่คุณค่า จะทำการประเมินผลลัพธ์เปรียบเทียบระหว่างมัสยิดที่เข้าร่วมโครงการมัสยิดปลอดบุหรี่ และมัสยิดที่ไม่เข้าร่วมโครงการมัสยิดปลอดบุหรี่ จำแนกตามผู้มีส่วนได้เสีย

ผลกระทบทางสังคมของมัสยิดปลอดบุหรี่ที่เกิดต่อมุสลิมที่มาทำการละหมาด

จะพิจารณาจากในตัวชี้วัด 4 ตัวชี้วัด กล่าวคือ

  1. มุสลิมที่มาทำการละหมาดรับรู้ว่ามัสยิดเป็นเขตห้ามสูบบุหรี่ ตามกฎหมาย
  2. มุสลิมที่มาทำการละหมาดรู้สึกไม่ชอบที่เห็นคนสูบบุหรี่ในมัสยิด และแสดงออกให้เห็น
  3.  มุสลิมที่มาทำการละหมาดรู้สึกไม่ชอบที่เห็นก้นกรองบุหรี่ในมัสยิด และแสดงออกให้เห็น
  4.  มุสลิมที่มาทำการละหมาดรู้สึกไม่ชอบที่เห็นเห็นคนสูบบุหรี่ใกล้บริเวณมัสยิด และแสดงออกให้เห็น

ผลการวิเคราะห์ พบว่า มุสลิมที่มาละหมาดที่มัสยิดที่ดำเนินกิจกรรมมัสยิดปลอดบุหรี่จะมีการรับรู้ว่ามัสยิดเป็นเขตสูบบุหรี่ มากกว่ามุสลิมที่มาละหมาดที่มัสยิดที่ไม่ได้ดำเนินกิจกรรมมัสยิดปลอดบุหรี่ เช่นเดียวกัน มุสลิมที่มาละหมาดที่มัสยิดที่ดำเนินกิจกรรมมัสยิดปลอดบุหรี่จะรู้สึกไม่ชอบเห็นคนสูบบุหรี่ ก้นกรองบุหรี่ หรือคนอื่นๆ สูบบุหรี่ในบริเวณใกล้มัสยิด มากกว่ามุสลิมที่มาละหมาดที่มัสยิดที่ไม่ได้ดำเนินกิจกรรมมัสยิดปลอดบุหรี่

ผลกระทบทางสังคมของมัสยิดปลอดบุหรี่ที่เกิดต่อผู้บริหารมัสยิด

จะพิจารณาจากในตัวชี้วัด 2 ประการ กล่าวคือ

  1. ผู้บริหารมัสยิดรู้สึกภูมิใจมากหากมัสยิดเข้าร่วมโครงการมัสยิดปลิดบุหรี่
  2. ผู้บริหารมัสยิดมีความคิดในการการบอกเล่าโครงการมัสยิดปลอดบุหรี่ของ สสม./สสส.ให้แก่ผู้อื่น

ผลการวิเคราะห์ พบว่า คณะกรรมการมัสยิดที่เข้าร่วมโครงการมัสยิดปลอดบุหรี่จะรู้สึกภูมิใจเมื่อมัสยิดของตนเข้าร่วมโครงการมัสยิดปลอดบุหรี่ ในสัดส่วนที่สูงกว่าคณะกรรมการมัสยิดที่ไม่เข้าร่วมโครงการมัสยิดปลอดบุหรี่ สอดคล้องกับผลการศึกษาที่ พบว่า คณะกรรมการมัสยิดที่เข้าร่วมโครงการมัสยิดปลอดบุหรี่ มีแนวโน้มจะบอกเล่าโครงการมัสยิดปลอดบุหรี่ในสัดส่วนที่สูงกว่าคณะกรรมการมัสยิดที่ไม่เข้าร่วมโครงการมัสยิดปลอดบุหรี่

กล่าวโดยสรุป

การวิเคราะห์ผลกระทบทางสังคม การดำเนินกิจกรรมมัสยิดปลอดบุหรี่ของแผนงาน ฯ ตามทฤษฎีการเปลี่ยนแปลง (Theory of Change) และแนวคิดห่วงโซ่ผลลัพธ์ (impact value chain) พบว่า มัสยิดปลอดบุหรี่เป็นกิจกรรมที่สร้างผลกระทบทางสังคมอย่างมีนัยสำคัญ กิจกรรมสามารถสร้างผลกระทบทางสังคมต่อมุสลิมที่เข้ามาละหมาดที่มัสยิดในด้านรับรู้ว่ามัสยิดเป็นเขตปลอดบุหรี่ รวมทั้งสร้างพฤติกรรมในการลดการบริโภคบุหรี่และผลิตภัณฑ์ยาสูบในบริเวณมัสยิด และชักชวนผู้อื่นในการเลิกบุหรี่ด้วย เช่นเดียวกับผลกระทบทางสังคมที่เกิดขึ้นกับผู้บริหารมัสยิดที่เข้าร่วมมัสยิดปลอดบุหรี่ อันจะมีความภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมดังกล่าว และได้บอกเล่าถึงกิจกรรมเพื่อเป็นต้นแบบให้มัสยิดอื่น ๆ เข้าร่วมมัสยิดปลอดบุหรี่ต่อไป


แก้ไขล่าสุด : 8 ส.ค. 2561, เวลา 00:00


มูลนิธิสร้างสุขมุสลิมไทย

ร่วมสร้างสังคมปลอดบุหรี่